การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

 การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้

(Measurement & Evaluation of Learning)

🍕 หลักการวัดและประเมินผล 🍕
ความหมายของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 🍩
  • เป็นกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อตัดสินคุณค่าทั้งทางด้านความรู้ ทักษะ และคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียน โดยใช้เครื่องมือวัดและเปรียบเทียบกับเป้าหมายหรือเกณฑ์ที่ได้ตั้งไว้
จุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 🍰
    เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยดูจากพัฒนาด้านความรู้ ทักษะ และคุณธรรมของผู้เรียน และเป็นการให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับประสิทธิภาพการเรียนรู้ ความคลาดเคลื่อนของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นสำหรับการปรับปรุงแก้ไขและเรียนซ่อมเสริม  จึงอาจสรุปได้ว่า การประเมินผลการเรียนรู้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ 3 ประการได้แก่
  1. เพื่อบ่งชี้ว่าผู้เรียนมีทักษะและความรู้ที่สำคัญเพียงพอหรือไม่
  2. เพื่อวินิจฉัยจุดเด่นและจุดด้อยของผู้เรียน
  3. เพื่อบ่งชี้ถึงระดับผลสัมฤทธิ์ผลของผู้เรียนแต่ละคน
การประเมินผลด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ 🍙
  • พฤติกรรมด้านพุทธพิสัย (Cognitive Domain) => การเรียนรู้ที่อาศัยความสามารถทางสมองซึ่งต้องมีการคิดวิเคราะห์ รวมทั้งจดจำทำความเข้าใจ การอ่าน การเขียน และคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ซึ่งแบ่งพฤติกรรมนี้ได้เป็น 6 ขั้น ได้แก่
    1. ระดับความรู้ความจำ (Knowladge)
    2. ระดับความเข้าใจ (Comprehensive)
    3. ระดับการนำไปใช้ (Application)
    4. ระดับการวิเคราะห์ (Analysis)
    5. ระดับการสังเคราะห์ (Synthesis)
    6. ระดับการประเมินค่า (Evaluation)
  • พฤติกรรมด้านจิตพิสัย (Affective Domain) => คุณลักษณะด้านอารมณ์และความรู้สึกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งนั้นอาจเป็นได้ทั้งความคิด ความเชื่อ การกระทำ ลักษณะของบุคคล ตลอดจนคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมต่างๆ จำแนกได้เป็น 5 ขั้น ได้แก่
    1. ขั้นรับรู้หรือสนใจ
    2. ขั้นตอบสนองหรือซาบซึ้ง
    3. ขั้นรู้คุณค่าและเจคติ
    4. ขั้นกาารจัดระบบคุณค่าหรือค่านิยม
    5. ขั้นสร้างลักษณะนิสัย
  • พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) => พฤติกรรมของผู้เรียนที่ปรากฏออกมาให้เห็น จากการลงมือปฏิบัติกิจกรรม การปฏิบัติดังกล่าวอาศัยการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ขั้น คือ
    1. ขั้นรับรู้
    2. ขั้นปฏิบัติตามแบบ
    3. ขั้นปฏิบัติเลียนแบบ
    4. ขั้นปฏิบัติเอง
    5. ขั้นปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์
    สรุปได้ว่า การประเมินผลด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธพิสัย เป็นการวัดทางด้านสมอง หรือตัวความรู้ ด้านจิตพิสัย เป็นการวัดทางด้านอารมณ์ และด้านทักษะพิสัย เป็นการวัดพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออกมานั่นเอง

วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 🍣
  • วิธีการและเครื่องมือวัดพฤติกรรมด้านพุทธพิสัย ได้แก่
    1. การทดสอบ/แบบทดสอบ
    2. การสังเกต/แบบสังเกต
    3. การสัมภาษณ์/แบบสัมภาษณ์
    4. การใช้แฟ้มสะสมผลงาน/แบบประเมิน
  • วิธีการและเครื่องมือวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย ได้แก่
    1. การสังเกต/แบบสังเกต/แบบวัดเชิงสถานการณ์
    2. การสัมภาษณ์/แบบสัมภาษณ์
    3. การสอบถาม/แบบสอบถาม
    4. การทดสอบ/แบบทดสอบ
    5. การใช้แฟ้มสะสมผลงาน/แบบประเมิน
  • วิธีการและเครื่องมือวัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ได้แก่
    1. การสังเกต/แบบสังเกต
    2. การรทดสอบ/แบบทดสอบ
    3. การใช้แฟ้มสะสมผลงาน/แบบประเมิน
    4. การสัมภาษณ์/แบบสัมภาษณ์
การวัดและประเมินผลมีหลายรูปแบบ ที่นิยมใช้ได้แก่ 
  1. การสังเกต (Observation) นิยมใช้กับพฤติกรรมด้านจิตพิสัย และทักษะพิสัย
  2. การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นการสนทนาโต้ตอบกันอย่างมีจุดมุ่งหมาย
  3. การสอบถาม(Questionnaire) และการสำรวจ (Checklist) เป็นวิธีที่สะดวกและนิยมใช้กัน
  4. การทดสอบ (Test) ส่วนใหญ่ใช้ในการวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ในด้านพุทธพิสัย
  5. การใช้แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolios) เป็นการรวบรวมข้อมูลถึงความสำเร็จเฉพาะด้าน
ประโยชน์ของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 🍹
  1. ประโยชน์ต่อครู ทำให้ทราบถึงพื้นฐานความรู้ความสามารถของผู้เรียนเป็นข้อมูบ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของนักเรียนได้ตรงจุด และสามารถปรับปรุงเทคนิคการสอนให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  2. ประโยชน์ต่อนักเรียน ทำให้ผู้เรียนรู้ระดับความสามารถในแต่ละด้านและภาพรวมของตน และช่วยให้ผู้เรียนทราบว่าตนเก่งหรืออ่อนในวิชาใด
  3. ประโยชน์ต่อการแนะแนว เพื่อคำแนะนำในการเลือกอาชีพ การศึกษาต่อ
  4. ประโยชน์ต่อผู้บริหาร ช่วยในการวางแผนการปฏิบัติงานต่าง ของสถานศึกษา หรือการปรังปรุงประสิทธิภาพในการบริหารงานของบุคลากรในสถานศึกษา
  5. ประโยชน์ต่อการวิจัย การวัดเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของการวิจัย ที่ช่วยให้ผลวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อการสอน การแนะแนว และการบริหารศึกษาได้

🍨 🍨 🍨 🍨 🍨ขอบคุณมากๆนะที่อ่านมาถึงตรงนี้เก่งมากๆเลย🍨 🍨 🍨 🍨 🍨

🍯 เทคโนโลยีสาารสนเทศและการสื่อสารในการวัดและประเมินผลการเรียน 🍯
  • Socrative
            Socrative เป็นโปรแกรมแบบทดสอบ ที่สามารถเข้าใช้ผ่านอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน โดยสามารถสร้างแบบทดสอบได้หลายลักษณะ ได้แก่ แบบอัตนัย ปรนัย หรือถูก-ผิด และสามารถใส่รูปภาพประกอบ และยังรายงานผลการตอบคำถามได้ทันทีทั้งแบบรายข้อ แบบสรุปคะแนนคิดเป็นร้อยละ เป็นต้น
เว็บไซต์ของ Socrative: https://www.socrative.com/



  • Zip grade 
            Zipgrade เป็นโปรแกรมสำหรับการตรวจและวิเคราะห์ข้อสอบแบบปรนัยโดยอัตโนมัติ ผ่านสมาร์ทโฟนหรือ แท็บเล็ต โดยวิธีการสแกนผ่านกล้องถ่ายรูป ซึ่งโปรแกรมนี้ใช้ง่ายโดยเพียงแค่กำหนดข้อที่ถูก ไว้ในโปรแกรม หลังจากนั้นพิมพ์กระดาษคำตอบจากในโปรแกรมมาให้ผู้เรียนใช้ทำข้อสอบ

🌻 🌻 🌻 🌻 🌻 สรุปจากผู้เขียน Blog 🌻 🌻 🌻 🌻 🌻

        การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อตัดสินคุณค่าทั้งทางด้านความรู้ ทักษะ และคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียน โดยใช้เครื่องมือวัดและเปรียบเทียบกับเป้าหมายหรือเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ซึ่งประโยชน์ของการวัดและประเมินผลก็มีทั้งประโยชน์ต่อครู นักเรียน การแนะแนว ผู้บริหาร และการวิจัย และผู้มีบทบาทในการประเมินผลการเรียนรู้ ควรเป็นทั้งครูและนักเรียน โดยเป็นการร่วมกันประเมินผลทั้งสองฝ่าย ครูประเมินจากพัฒนาการ หรือนักเรียนสามารถประเมินความสามารถของตนเองก็ได้ อีกทั้งสามารถให้เพื่อนประเมินเพื่อนได้อีกด้วย



แหล่งที่มา
ผศ.ดร.นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์, เอกสารประกอบการเรียนวิชาการพัฒนาสมรรถนะครูในยุคดิจิทัล เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ความคิดเห็น