ความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
🌻 หลักการความคิดสร้างสรรค์ 🌻
🌈ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ => กระบวนการคิดของสมองซึ่งมีความสามารถในการคิดได้หลากหลาย และแปลกใหม่จากเดิม
🌈ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์
- ความสำคัญต่อตนเอง คือ หากได้ทำตามในสิ่งที่คิด จะเป็นการลดความเครียดลงได้ เพราะได้ตอบสนองความต้องการของตนเอง
- ความสำคัญต่อสังคม คือ การสร้างสรรค์ชิ้นงานใหม่ๆ จะทำให้เกิดความแปลกใหม่ ลังคมเกิดความก้าวหน้า ส่งผลให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์สะดวกสบายมากขึ้น ช่วยประหยัดเวลา แรงงาน รวมถึงความปลอดภัยในชีวิต
- ระดับต้น: เป็นความคิดอิสระ แปลกใหม่ ยังไม่คำนึงถึงคุณภาพและการนำไปประยุกต์ใช้
- ระดับกลาง: คำนึงถึงผลผลิตทางคุณภาพนำไปประยุกต์ใช้งานได้
- ระดับสูง: สรุปสิ่งที่ค้นพบเป็นรูปธรรม นำไปใช้ในการสร้างหลักการทฤษฎีที่สากลยอมรับ
🌈รูปแบบของความคิดสร้างสรรค์
- การปฏิรูป เป็นการพัฒนาความคิดแบบหนึ่งไปสู่อีกแบบหนึ่งอย่างค่อยเป็นค่อยไป
- การสังเคราะห์ คือ ความคิดในการนำสิ่งหรือวิธีการที่หลากหลายตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไปมาผสานกัน
- การปฏิวัติ คือ การเปลี่ยนแปลงความคิดเก่าโดยสิ้นเชิง
- เอาไปทำอย่างอื่น เป็นการมองสิ่งเก่าๆ ในรูปแบบใหม่ เอาสิ่งของเก่าๆ ไปทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่หน้าที่เดิมๆ ของมัน
- เปลี่ยนทิศทางใหม่ เปลี่ยนมุมมองความคิดไปมุมมองอื่นๆ บ้าง
🌈ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์
- ชอบสิ่งใหม่ๆ พร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า
- มีความเชื่อมั่นในตนเอง ชอบอิสระ
- มีความคิดที่ยืดหยุ่น และไวต่อความรู้สึกและสิ่งรอบตัว
- อารมณ์ขัน ไม่มีความเครียด
🎵 หลักการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 🎵
- สร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
- พยายามตั้งคำถาม/ การศึกษารายกรณีเกี่ยวกับเด็ก
- จัดกิจกรรมระดมสมอง (Brainstorming)
- ปลูกฝังความกล้าที่จะแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์
- การสร้างความคิดใหม่
บทบาทของครูผู้สอนในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน🌲
- มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ครูต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของความคิดเห็นของความคิดเห็นสร้างสรรค์เสียก่อน ครูต้องมีความคิดที่แตกต่างและไม่ย่ำอยู่กับที่ ไม่ยึดกับความคิดเดิมๆ หรือซ้ำกับความคิดผู้อื่น และครูควรระลึกว่าการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กนั้นจะต้องใช้เวลาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ค่อยเป็นค่อยไป
- เป็นแหล่งความรู้ที่มีความรอบรู้ ครูที่มีความคิดสร้างสรรค์ต้องค้นคว้า สำรวจสิ่งต่างๆ ปรับตนให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ครูต้องไม่ยึดกับเอกสารการสอน และไม่แสร้งทำว่าเป็นรู้
- มีความสนใจนักเรียน ต้องสังเกตผู้เรียนเสมอ รู้จักเด็กในห้องให้มากที่สุด ต้องตั้งใจสอนและแนะนำผู้เรียนด้วยความเต็มใจ ครูต้องหลีกเลี่ยงความคิดที่ว่า เด็กฉลาดไม่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทางความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งอันที่จริงแล้วเด็กทุกคนต้องการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ครูลดบทบาทเป็นเพียงผู้ชี้แนะ และให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้วยตนเองมากขึ้น
- มีอารมณ์ขัน เพราะจะทำให้มองสิ่งแวดล้อมในแง่มุมที่ดีงาม และจะทำให้บรรยากาศการเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น
- การจัดกิจกรรมในชั้นเรียนต้องส่งเสริมให้เด็กถาม ครูไม่ควรมุ่งคำตอบที่ถูกอย่างเดียวแต่ควรกระตุ้นให้เด็กได้วิเคราะห์ โดยใช้ประสบการณ์ของตนเอง ตั้งใจฟังเมื่อเด็กแสดงความคิดเห็น
💙เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์💙
เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่หลายวิธี ซึ่งเราได้สรุปมาเป็นหัวข้อสั้นๆได้ดังนี้
- การระดมสมอง
- การปลูกฝังความกล้าที่จะทำสิ่งสร้างสรรค์ (ใช้การตั้งคำถามง่ายๆ)
- การปรับเปลี่ยน (สร้างแนวคิดใหม่โดยอาศัยแนวคิดเดิม)
- การสร้างแนวคิดใหม่ (รวบรวมส่วนประกอบย่อยของสิ่งต่างๆเข้าด้วยกัน)
- ตรวจสอบ ค้นหาความคิดดีๆ
- การทำความเข้าใจกับปัญหาที่กำลังเผชิญ
- การทำปัญหาที่คุ้นเคยให้แปลก หรือกลับสิ่งที่จะคิด
- ปรับสภาพแวดล้อมและเวลาให้เหมาะสมกับการคิด
- การสอนตามแนวคิดของวิลเลียมส์ (เน้นให้เด็กรู้จักคิด และแสดงความรู้สึก)
- การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮ/สโคป (เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้โดยเป็นผู้ริเริ่ม)
- เทคนิคแผนที่ความคิด
- เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ
⛄สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์⛄
- ความรัก ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว การอาศัยอยู่รวมกัน
- การเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย
- การฝึกให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์หรือกิจกรรม
- ให้ลูกมีโอกาสพบเพื่อนและเล่นกับเพื่อน
- ความสม่ำเสมอของพ่อแม่ พ่อแม่ต้องจัดเวลาเลี้ยงลูก
- ให้เด็กได้ทำในสิ่งที่ชอบ พยายามให้เด็กทำเพื่อเป้าหมายในชีวิต
- ให้แรงเสริมกำลังใจ ให้ความชื่นชมเมื่อเด็กทำได้ดี
- ให้เวลาไม่ปล่อยให้เด็กไว้ตามลำพังคนเดียวหรืออยู่กับผู้อื่นมากเกินไป
ซึ่งจาก 8 ข้อที่ผ่านมากล่าวได้ว่า การสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์นั้น ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นที่โรงเรียนเพียงอย่างเดียว สภาพแวดล้อมสามารถสร้างได้จากทั้งบ้าน สถานที่ต่างๆ รอบตัว รวมถึงสภาพทางสังคม
🍭🍭🍭🍭ขอบคุณมากๆนะที่อ่านมาจนถึงจุดนี้เก่งมากๆเลยนะ 🍭🍭🍭🍭
💖เทคโนโลยีที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์💖
Book Creator โปรแกรมนี้เป็นแอปพลิเคชันในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) บนสมาร์ทโฟนแบบง่ายๆ เหมาะสำหรับการสร้าง E-book ด้วยตนเอง
- Powtoon
Powtoon คือเครื่องมือสร้างอินโฟกราฟิกแบบเคลื่อนไหว (Motion Graphic) อีกทั้ง Powtoon ยังมีกราฟิกสำเร็จรูป หรือตัวการ์ตูนแบบเคลื่อนไหวได้ไว้ในคลังภาพมากมาย เหมาะสำหรับงานที่ใช้ในการนำเสนอ //คล้ายๆ โปรแกรมที่มีสีส้มเลย แต่มีภาพเคลื่อนไหวด้วย
เว็บไซต์ของ Powtoon: เข้าสู่เว็บไซต์ได้ที่นี่!!!
- Toontastic
Toontastic เป็นแอปพลิเคชั่นที่สามารถสร้างนิทานได้เอง โดยสามารถขยับตัวละครด้วยการลากวาง โดยโปรแกรมนี้สามารถพากย์เสียงลงไปในเนื้อเรื่องได้ และสร้างการ์ตูนแบบ 3D ได้โดยการวาดรูปฉากหรือตัวละครได้ตามใจ และใครที่คิดว่ายังไม่ครีเอตพอสามารถถ่ายถาพหน้าตัวเองใส่เข้าไปในตัวละครได้นะ โหลดได้ทั้ง App Store และ Play Store //รูปภาพที่เอามาไม่ใช่การ์ตูนเรื่องไหนนะ🤣
🎃 ♡ 🎃 ♡ 🎃 ♡ 🎃 สรุปจากผู้เขียน Blog 🎃 ♡ 🎃 ♡ 🎃 ♡ 🎃
ความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการคิดทางสมองซึ่งมีความสามารถในการคิดได้หลากหลาย และแปลกใหม่จากเดิม ซึ่งการที่ผู้เรียนจะเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ ครูผู้สอนจำเป็นต้องมีหลักการ ดังนี้
- สร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
- พยายามตั้งคำถาม/ การศึกษารายกรณีเกี่ยวกับเด็ก
- จัดกิจกรรมระดมสมอง (Brainstorming)
- ปลูกฝังความกล้าที่จะแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์
- การสร้างความคิดใหม่
ซึ่งการที่ผู้เรียนมีความคิดที่สร้างสรรค์นั้นมีประโยชน์คือ สามารถคิดค้นสิ่งแปลกใหม่ได้ และสามารถนำสิ่งที่คิดค้นได้นำไปเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยพัฒนาประเทศไปในทางที่ดีขึ้น
แหล่งที่มา
ผศ.ดร.นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์, เอกสารประกอบการเรียนวิชาการพัฒนาสมรรถนะครูในยุคดิจิทัล เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น