ทักษะการคิด
ทักษะการคิด (Thinking Skills)
หลักการเรียนรู้เพื่อเสริมทักษะการคิด 🧠
- ความหมายของทักษะการคิด => ทักษะการคิดเป็นกระบวนการทางสมอง เป็นผลมาจากประสบการณ์เดิม สิ่งเร้า หรือสภาพแวดล้อมที่เข้ามากระทบ ทำให้สมองได้รับการกระตุ้นให้คิด ตัั้งแต่การคิดในสิ่งที่ง่ายไม่ซับซ้อน ไปจนถึง การคิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบ สังเคราะห์ และประเมิน เพื่อให้ได้แนวทางในการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสมหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในที่สุด
- ความสำคัญของทักษะการคิด
- สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพ มีระบบ มีเหตุมีผล
- สามารถพิจารณาสิ่งต่างๆ และประเมินค่าสิ่งต่างๆโดยใช้หลักเกณฑ์อย่างมีเหตุผล
- ประเมินตนเองและผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง
- มีกระบวนการทำงานเป็นขั้นตอน และใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา
- มีความสามารถในการใช้ภาษาและสื่อความหมายได้เป็นอย่างดี
- มีความสามารถในการคิดอย่างชัดเจน ถูกต้อง และคิดอย่างกว้างไกล และคิดอย่างสมเหตุสมผล
- เป็นผู้มีปัญญา มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบ
- มีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- มีภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตที่ยุ่งยาก
- สมองกับการคิด 🌾
- ทักษะการคิดเป็นกระบวนการทางสมอง ดังนั้น การฝึกฝนและเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมอง เพื่อให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ธรรมชาติของมนุษย์จะมีสารเคมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ
- สารแห่งความสุข คือ สารเคมีกลุ่มกระตุ้นสมองให้เกิดความสุข เช่น สารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphine) ทำให้สมองเกิดการเรียนรู้ได้ดี สารอซีทีคอลีน (Acetylcholine) สารเกี่ยวกับความทรงจำและเก็บความจำได้นาน สารโดพามีน (Dopamine) สารที่ทำให้ตื่นตัวกระฉับกระเฉง สารเซโรโทนิน (Serotonin) สารควบคุมพฤติกรรม ซึ่งสารเคมีเหล่านี้จะหลั่งออกมาเมื่อได้รับสิ่งเร้าต่างๆ เช่น
- การออกกำลังกาย
- ได้รับคำชมเชย ไม่ถูกดุด่า ติเตียน
- มีสิ่งแวดล้อม ในห้องเรียนที่ดี สะอาด สบาย น่าอยู่
- การมองเห็นคุณค่าของตัวเอง
- การให้ทาน การช่วยเหลือผู้อื่น
- การสัมผัสกับความจริง ได้ ทัศนศึกษาง
- สารแห่งความทุกข์ คือ กลุ่มสารที่กดการทำงานของสมอง เช่น สารอดรีนาลีน (Adrenaline) และสารคอร์ตอซอล (Cortisol) ซึ่งจะหลั่งออกมาเองโดยสัญชาตญาณเมื่อมีความเครียด ดังนั้นผู้สอนสามารถทำได้คือ ลดความเครียดเพื่อให้สมองของผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีที่สุด
- ระดับของการคิด
ที่มารูป: https://sirikanya926.files.wordpress.com/2014/01/blooms_old_new.jpg
- การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด 🌺
- การสอนโดยตรง คือ การมุ่งพัฒนาการคิดโดยตรงเป็นหลัก ไม่คำนึงถึงเนื้อหาสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรมากนัก
- การสอนทางอ้อม คือ การสอดแทรกการพัฒนาการคิดเข้าไปในเนื้อหาวิชาตามหลักสูตร
- การสอนให้รู้จักคิด (Teaching for thinking) คือ จัดการเรียนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักคิด เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการคิด
- การสอนการคิด (Teaching of thinking) คือ เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกเรียนรู้วิธีคิดแบบต่างๆโดยตรง
- การสอนเกี่ยวกับการคิด (Teaching about thinking) คือ ให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงกระบวนการคิดของตนเองและผู้อื่น
- แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการคิด 🌏
- คำนึงถึงความแตกต่างของพัฒนาการทางสมองของผู้เรียน
- ระดับของการคิด มี 6 ระดับ ผู้สอนจึงควรทำความเข้าใจและพัฒนาผู้เรียนแต่ละบุคคลให้ได้รับการพัฒนาการคิดไปจนถึงระดับสูงสุด
- ครูต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้เครื่องมือและกิจกรรมต่างๆ ไปใช้พัฒนาการคิดให้เหมาะสมและพัฒนาการคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ครูสร้างบรรยากาศการคิดโดยการ
- กระตุ้น สร้างความท้าทายที่เหมาะสมให้กับเด็กในการเรียนรู้
- เปิดโอกาสให้เด็กแสดงความคิด
- ส่งเสริมให้เด็กมีความสุขในการเรียนรู้
- จัดกิจกรรมให้มีการเคลื่อนไหวในขณะที่เรียน
- ให้กำลังใจ ชมเชย ไม่ดุด่า
- สิ่งแวดล้อมในห้องเรียนที่ดี
- บทบาทของผู้สอนในการส่งเสริมทักษะการคิด 🍵
- ขั้นเตรียมความพร้อม ผู้สอนต้องศึกษาระเบียบ พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องกับการคิด
- ขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้สอนต้องหมั่นตั้งคำถามให้ผู้เรียนเกิดข้อสงสัย หรือปัญหา การสนับสนุนให้ผู้เรียนค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองและมีอิสระ เมื่อผู้สอนให้นักเรียนตอบคำถาม ผู้สอนจึงต้องลดบทบาทลง โดยพูดให้น้อยลงและฟังให้มากขึ้น และผู้สอนต้องสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและเป็นกันเองกับผู้เรียน และมีการเสริมแรงอย่างสม่ำเสมอ
- ขั้นวัดและประเมินผล ผู้สอนต้องกำหนดจุดมุ่งหมายของการวัด กำหนดตัวชื้วัดหรือพฤติกรรมเฉพาะของสิ่งที่มุ่งหวัง ต้องมีการสร้างเครื่องมือในการวัด หรือวิธีการตรวจให้คะแนน
- การประเมินผลทักษะการคิด 📝
- การใช้แบบทดสอบ
- การใช้แบบทดสอบมาตรฐาน คือ มีผู้สร้างแบบทดสอบไว้แล้ว สามารถจัดกลุ่มได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบทดสอบการคิดทั่วไป และแบบทดสอบความคิดเฉพาะด้าน
- การสร้างแบบวัดการคิดขึ้นใช้เอง แบบทดสอบที่นิยมทั่วไปใช้นั้น บางครั้งไม่สอดคล้องกับเป้าหมายการวัด ซึ่งแก้ไขได้โดยสร้างแบบทดสอบขึ้นมาเอง เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการในการวัด
- การประเมินผลตามสภาพจริง
- สิ่งแรกที่สำคัญของการประเมินผลตามสภาพจริง คือ จุดประสงค์ของการเรียนรู้ ซึ่งจำเป็นต้องแยกเป็นประเด็นย่อยที่สำคัญ ที่จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงการบรรลุจุดประสงค์ และผู้สอนต้องหาวิธีประเมินที่หลากหลายและสอดคล้องกับตัวบ่งชี้ พร้อมทั้งสร้างเครื่องมือการประเมิน และการกำหนดแหล่งข้อมูลที่จะใช้ในการประเมินด้วย
เทคนิคการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิด 🌹
- ผังมโนทัศน์ (A Concept Map) ช่วยให้การนำเสนอความคิดเป็นไปอย่างเป็นระบบ เข้าใจง่าย กระชับ ชัดเจน มีหลายประเภท เช่น ผังแมงมุม (A Spider Map) ผังลำดับขั้นตอน (A Sequential Map) ผังก้างปลา (A Fishbone Map) เป็นต้น โดยมีขั้นตอน ดังนี้
- เริ่มจากกิจกรรมกระตุ้นสมอง ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์กับกิจกรรมที่จะฝึก
- ตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้เกิดการคิด ในขั้นนี้ผู้เรียนจะได้ลงมือทำเอง
- กระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาเอง
- ประเมินความคิดของผู้เรียนโดยพิจารณาจากความสำเร็จและประสิทธิผลของการคิด
- การใช้ผังมโนทัศน์ สามารถใช้ได้ทั้ง 2 ลักษณะ ได้แก่
- เริ่มต้นกิจกรรมการเรียนรู้ 📘
- เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นภาพรวมของเรื่องที่จะเรียน ผู้สอนต้องสร้างผังล่วงหน้า
- เพื่อดึงความรู้เดิมของผู้เรียน
- หลังกิจกรรมการเรียนรู้ 📘
- เพื่อให้ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลความรู้ทั้งหมดที่เรียน มาจัดเป็นแผนภาพ
- เพื่อให้ผู้สอนได้มีโอกาสตรวจสอบ ประเมินผลการเรียนรู้จากแผนภาพ
- ประโยชน์ของการให้ผู้เรียนใช้ผังมโนทัศน์
- เป็นการพัฒนาการคิดในระดับสูง
- ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในสิ่งที่เรียน
- ช่วยให้ผู้เรียนจำได้ในลักษณะความจำแบบถาวร
- ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาปัญญาอย่างหลากหลาย (Multiple Intelligences)
- การใช้คำถาม (Questioning) จุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- คำถามแบบเจาะจง
- คำถามข้อเท็จจริง => ใช้ทดสอบความจำ
- คำถามคาดคะเน => ผู้เรียนต้องวิเคราะห์จากความรู้ที่ได้มา
- คำถามสมบูรณ์ => ผู้เรียนต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการตอบ
- คำถามประเมิน => ผู้เรียนต้องพิจารณาตัดสินใจก่อนตอบ
- คำถามแนะให้คิด เป็นคำถามที่ใช้หลังจากการถามคำถามแรกแล้วผู้เรียนไม่สามารถตอบได้ หรือตอบผิด จะใช้เป็นคำชี้แนะ (Cues) หรือคำใบ้ (Hint)
- คำถามกระตุ้นให้คิดต่อ เป็นคำถามที่ใช้ต่อจากคำตอบของผู้เรียนที่ไม่ลึกพอ
นอกจากนี้บลูมได้กำหนดจุดมุ่งหมายตามระดับขั้นความรู้ด้านพุทธพิสัยจากต่ำไปสูงคือ ระดับความรู้ความจำ, ความเข้าใจ, การนำไปใช้, การวิเคราะห์, การแระเมินผล และการสร้างสรรค์
ตัวอย่าง ระดับการคิดกับตัวอย่างคำและการตั้งคำถาม
🌹 🌹 🌹 🌹เก่งมากๆเลยที่อ่านมาถึงจุดนี้ได้ จากนี้คือหัวข้อสุดท้ายแล้วนะ 🌹 🌹 🌹 🌹
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ส่งเสริมทักษะการคิด
Padlet เรียกได้ว่าเป็นโปรแกรมที่ออกแบบพื้นที่หรือกระดานสำหรับแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งผู้อื่นสามารถเห็นคำตอบของเราได้แต่ไม่ต้องห่วงว่าจะรู้ชื่อเราไหม ขอบอกว่า ไม่จำเป็นต้องระบุตัวตนก็ได้ ซึ่งช่วยลดปัญหาความไม่กล้าแสดงออกของผู้เรียนบางส่วนได้
เว็บไซต์ของ Padlet: https://padlet.com/dashboard
- Popplet Lite
เว็บไซต์ของ Popplet: https://app.popplet.com/#/
- Minecraft
Minecraft คือเกมในรูปแบบ Sandbox บางคนอาจมาอ่านแล้วตกใจว่าใช่หรอ ขอบอกว่าใช่ครับแต่ไม่ใช่เวอร์ชันแบบปกตินะ Minecraft ที่เราอยากนำเสนอคือแบบ Edu หรือ Minecaft Education edition ซึ่งเวอร์ชันนี้ จะไม่ใช่การสำรวจหรือสร้างสิ่งต่างๆตามจินตนาการแต่อย่างใด แต่คือเราต้องเขียนโปรแกรมเพื่อที่จะให้ตัวละคร Steve/Alex ทำงานในรูปแบบต่างๆ //ใครว่าเกมไม่มีประโยชน์ลองเอาอันนี้ไปให้เค้าดูเลยนะ🤣🤣🤣
🌻🌻🌻🌻🌻 สรุปจากผู้เขียน Blog 🌻🌻🌻🌻🌻
ทักษะการคิดนั้นเป็นกระบวนการทางสมอง เป็นผลมาจากประสบการณ์ สิ่งเร้า หรือสภาพแวดล้อม ซึ่งทำให้สมองได้รับการกระตุ้นให้คิด ซึ่งระดับการคิดนั้นมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 6 ระดับ ก็คือ
- ความรู้ความจำ (Knowledge)
- ความเข้าใจ (Comprehensive)
- การนำไปใช้ (Application)
- การวิเคราะห์ (Analysis)
- การสังเคราะห์ (Synthesis)
- การประเมินค่า (Evaluation)
จะห็นได้ว่า ระดับการคิดนั้นมีเยอะมากเลยซึ่งการที่ผู้สอนจะสอนให้ทุกคนนั้นคิดในระดับที่สูงได้นั้นจำเป็นต้องค่อยให้ผู้เรียนฝึกคิดไปเรื่อยๆ อาจจะใช้คำถามให้ผู้เรียนเกิดความคิดขึ้น หรือจะจัดกิจกรรมที่เป็นกิจกรรมส่งเสริมทักษะการคิดขึ้นมาก็ได้อีกเช่นเดียวกัน
แหล่งที่มา
ผศ.ดร.นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์, เอกสารประกอบการเรียนวิชาการพัฒนาสมรรถนะครูในยุคดิจิทัล เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น